27 สิงหาคม 2563

รายงานโรคระบาด Covid-19

                                                       รายงานโรคระบาด Covid-19 

 


4.1  ข้อมูลการระบาดของโรค ที่มา ให้รู้จักโรคความเป็นมาของโรค Covid-19  ฯ


COVID-19 คืออะไร 

โรค COVID-19 คือ โรคติดเชื้อจากไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งพบการระบาดในช่วงปี 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โดยในตอนนั้นเราจะรู้จักกันโรคนี้ในชื่อว่า ไวรัสอู่ฮั่น ก่อนที่ภายหลังจะระบุเชื้อก่อโรคได้ว่าเป็นเชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส แต่เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น ทางองค์การอนามัยโลก จึงได้ตั้งชื่อโรคติดต่อชนิดนี้ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อว่า COVID-19  เพื่อไม่ให้เกิดรอยมลทินกับพื้นที่ที่เกิดการระบาดของโรคด้วย

 โคโรนาหรือโควิดเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินระบบหายใจ มีมานานกว่า 60 ปี แล้ว และจัดเป็นเชื้อไวรัสตระกูลใหญ่ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยชื่อโคโรนาก็มีที่มาจากลักษณะของเชื้อไวรัสที่รูปร่างคล้ายมงกุฎ (Corona เป็นภาษาละตินที่แปลว่ามงกุฎ) เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้มีสารพันธุกรรมเป็น RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบไปด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ไขมันเป็นปุ่ม ๆ ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส อธิบายง่าย ๆ คือเป็นเชื้อไวรัสที่มีหนามอยู่รอบตัว จึงสามารถเกาะตัวอยู่ในอวัยวะที่เป็นเป้าหมายของเชื้อไวรัสได้

          โคโรนาไวรัสเป็นเชื้อที่ก่อโรคได้ทั้งในคนและสัตว์ เนื่องจากตัวไวรัสมีสารพันธุกรรม RNA ซึ่งมีโอกาสกลายพันธุ์สูง สามารถติดเชื้อข้ามสปีชีส์กันได้ โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีการรวมตัวของสัตว์อย่างหนาแน่น เช่น ตลาดค้าสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นต้นตอการแพร่ระบาดของโรคก็อาจจะมาจากสัตว์ปีก เช่น นก ค้างคาว ไก่ หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ม้า วัว แมว สุนัข กระต่าย หนู อูฐ รวมไปถึงสัตว์เลื้อยคลานอย่างงู เป็นต้น










 4.2  วิธีการการป้องกัน และการดำเนินการของประเทศไทย

วิธีป้องกันโคโรนาไวรัส ควรทำยังไง


          1)หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

        
  2) สวมหน้ากากอนามัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูดดมละอองฝอยได้


          3) อยู่ห่างจากผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการไอ จาม อย่างน้อย 2 เมตร

          4 )ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจับหรือใช้ของสาธารณะ หลังเข้าห้องน้ำ และก่อนรับประทานอาหาร

          5) หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสใบหน้า และดวงตา

          6) กินอาหารปรุงร้อน สดใหม่ และใช้ช้อนกลางทุกครั้ง


4.3  การอ่านข้อมูลสถิติการระบาดในปัจจุบัน และแนวโน้มการระบาด โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟ พร้อมแนบวิดิโอ หรือกราฟมาด้วย

บทวิเคราะห์สถานการณ์ สัดส่วนของผู้ป่ วยด้วยโรค COVID-19 ที่พบนอกกรุงเทพมหานครกําลังเพิ่มสูงขึ้น ขณะนี ้มีรายงานการพบผู้ป่วยในจังหวัดต่างๆ กว่า 2 ใน 3 จังหวัดของประเทศไทย ระบบสาธารณสุขระดับภูมิภาคที่รวมถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ของหน่วยเคลื่อนที่เร็วและอาสาสมัครสาธารณสุขประจํา หมู่บ้านมีความแข็งแกร่ง โดยจะทําหน้าที่ระบุผู้ป่ วยที่ต้องสงสัย แยกผู้ป่ วยดังกล่าวออกจากบุคคลอื่นอย่างรวดเร็วให้การรักษา ติดตามและกัก ตัวผู้สัมผัสใกล้ชิด การแยกผู้ติดเชื ้อออกจากบุคคลคนอื่นอย่างรวดเร็วจะช่วยลดโอกาสในการแพร่กระจายของไวรัส


นี่คือภาพรวมแนวโน้มของผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศที่มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก โดยสหรัฐอเมริกามีผู้ติดเชื้อสะสมสูงกว่า 6 แสนรายแล้ว หลังผ่านมาแล้วเกือบ 45 วัน นับตั้งแต่วันที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 ราย ตามมาด้วยสเปนและอิตาลี ขณะที่จีน ประเทศที่ถือเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แนวโน้มผู้ติดเชื้อชะลอตัวอยู่ที่ราว 8.2 หมื่นราย หลังจากทางการประกาศว่า จุดสูงสุดของการแพร่ระบาดในจีนได้ผ่านพ้นไปแล้ว

 

ขณะกำลังก้าวเข้าสู่เดือนที่ 4 ของการแพร่ระบาด สหรัฐอเมริกายังคงรั้งอันดับ 1 จากหัวตาราง เป็นประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากสุด มีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากที่สุด มีผู้ที่รักษาหายเพิ่มขึ้นรายวันมากที่สุด ทั้งยังตรวจหาเชื้อไปแล้วกว่า 3 ล้านราย แม้ว่าจะคิดเป็นเพียงไม่ถึง 1 หมื่นรายต่อประชากร 1 ล้านคนก็ตาม  

 




วิทยาการข้อมูล(data science)

                       วิทยาการข้อมูล(data science)

1) วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ

วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการ จัดเก็บ รวบรวม ตรวจสอบ วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความรู้ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง

 (Actionable knowledge) อย่างเช่น การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการดำเนินงาน ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ การวางแผนการตลาด และทิศทางขององค์กรในอนาคต

Data Science ไม่ใช่ศาสตร์ใหม่ แต่มันคือการนำความรู้เดิมที่มีอยู่มารวมและประยุกต์เข้าด้วยกันจนเกิดเป็นของใหม่ ด้วยลักษณะของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในโลกปัจจุบัน การเข้ามาของ Internet of Things  หรือ Censor ต่างๆ ตลอดจน Social media ทำให้เกิดเป็นข้อมูลปริมาณมหาศาล และนำมาสู่ Data Science 


2) ผลลัพธ์ที่ได้จาก Data Science

- ค้นพบสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนจากข้อมูลที่ได้
- ได้ Predictive Model เพื่อนำไปปฏิบัติจริง
- สร้าง Data Product ใหม่ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
- ช่วยให้ฝ่ายธุรกิจมีความมั่นใจและสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น


3) ที่มาของตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) 

ตำแหน่งงาน Data Scientist ถูกตั้งขึ้นโดย  DJ Patil และ Jeff Hammerbacher ในปี 2008 


4) ทักษะที่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ต้องมี 

1 ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science)
2 ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math&Statistics)
3 ความรู้เฉพาะสาขา (Domain Knowledge)
4 ความอยากรู้อยากเห็นและความคิดสร้างสรรค์ (Curiosity & Creativity)








ฟอร์มของ น.ส.ศศิวิมล ลิ้มเจริญ

กำลังโหลด…